วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระสมเด็จ วัดบางขุนพรหม




































สมเด็จวัดบางขุนพรหม

หลักการดู พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม
จำพิมพ์ของ พระสมเด็จบางขุนพรหม ให้แม่น มีจำนวนพิมพ์มากกว่า สมเด็จวัดระฆัง 4 พิมพ์ คือ เส้นด้าย ฐานคู่ สังฆาฏิ และอกครุฑ
ดูจากของจริง และเปรียบเทียบกับ พระพิมพ์สมเด็จอื่นๆ เพื่อดูจุดต่าง
ดูเนื้อ และมวลสาร เนื้อของพระสมเด็จบางขุนพรหม จะละเอียดกว่า แน่นกว่า มีมวลสารมงคลน้อยกว่า และมีคราบกรุ อันเกิดจากปฏิกริยาเคมี มีคราบดิน คราบเหล็กจับ
ซุ้มของสมเด็จบางขุนพรหม จะเล็กกว่าซุ้มของ สมเด็จวัดระฆัง
พระประธาน

ทรงเจดีย์



เกศบัวตูม

ฐานแซม



ปรกโพธิ์

เส้นด้าย



ฐานคู่

สังฆาฏิ



อกครุฑ

ความย่อ ชาดก

ความย่อ ชาดก ทั้ง ๑๐ เรื่อง
๑. เตมียชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม เล่าเรื่องเตมียราชกุมาร เกรงการที่จะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลดพระหฤทัยที่เห็นราชบุรษลงโทษโจรตามพระราชดำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันครั้งบ้าง เอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง จึงใช้วิธีแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูกทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อจะเลี่ยงการครองราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพรากมณ์ ก็ได้รับคำแนะนำใหนำราชกุมารไปฝังเสีย.
พระราชมารดาทรงคัดค้านไม่สำเร็จ ก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชสัก ๗ วัน แต่พระราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีนำราชกุมารขึ้นสู่รถเพื่อจะฝังตามรับสั่งพระราชา ขณะที่ขุดหลุ่มอยู่พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศัยกับนายสารถี แจ้งความจริงให้ทราบว่า มีพระประสงค์จะออกบวชสารถีเลื่อมใสในคำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสให้นำรถกลับไปคืนก่อน สารถีนำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ทรงทราบ. ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารจึงได้เสด็จออกไปหา เชิญให้พระราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับถวายหลักธรรมให้ยินดีในเนกขัมมะ คือการออกจากกาม. พระชนกชนนีพร้อมด้วยบริวารทรงเลื่อมใสในคำสอน ก็เสด็จออกผนวชและบวชตาม. และได้มีพระราชาอื่นอีกเป็นอันมากสดับพระราชโอวาทขอออกผนวชตาม.

๒. มหาชนกชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี คือความพากเพียร ใจความสำคัญ คือพระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยี่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ. ชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไป อย่างเบื่อหน่าย ( ความเพียร ) เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้.

๓. สุวรรณสามชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี คือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตนซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสี ชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนูด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา.
มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาให้สั่งสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง.

๔ . เนมิราชชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือความตั้งมั่นคง. มีเรื่องเล่าว่า เนมิราชกุมารได้ครองราชสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงามความดีเป็นที่รักของมหาชน และในที่สุด เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา.

๕ . มโหสถชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญปัญญาบารมี คือความทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้. มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมีความฉลาดรู้ สามารถแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกันพระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้.

๖ . ภูริทัตชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญบำเพ็ญศีลบารมี คือการรักษาศีล. มีเรื่องเล่าว่า ภูริฑัตตนาคราชไปจำศีลอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา. ยอมอดทนให้หมองูจับไปทรมารต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะทำลายหมองูได้ด้วยฤทธิ์ มีใจมั่นต่อศีลของตน ในที่สุดก็ได้อิสรภาพ.

๗ . จันทกุมารชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญขันติบารมี คือความอดทน มีเรื่องเล่าว่า จันทกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าเอกราช เคยช่วยประชาชนให้พ้นจากคดี ซึ่งกัณฑหาลพราหมณ์ ราชปุโรหิตาจารย์รับสินบนตัดสินไม่เป็นธรรม ประชาชนก็พากันเลื่อมใสเปล่งสาธุการ ทำให้กัณฑหาลพราหมณ์ผูกอาฆาตในพระราชกุมาร.
เมื่อพระเจ้าเอกราชทรงราชสุบิน เห็นดาวดึงสเทวโลก เมื่อตื่นจากบรรทมทรงใคร่จะทราบทางไปสู่เทวโลก ตรัสถามกัณฑหาลพราหมณ์ จึงเป็นโอกาสให้พราหมร์แก้แค้นด้วยการกราบทูลแนะนำให้ตัดพระเศียรพระโอรส ธิดา เป็นต้นบูชายัญ.
พระเจ้าเอกราชเป็นคนเขลา ก็สั่งจับพระราชโอรส ๔ พระองค์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ไปที่พระลานหลวง เพื่อเตรียมประหารบูชายัญ นอกจากนั้นยังสั่งจับพระมเหสี ๔ พระองค์ และคนอื่น ๆ อีก เพื่อเตรียมการประหารเช่นกัน แม้ใครจะทัดทานขอร้องก็ไม่เป็นผล. ร้อนถึงท้าวสักกะ ( พระอินทร์) ต้องมาข่มขู่และชี้แจงให้หายเข้าในผิดว่า วิธีนี้ไม่ใช่ทางไปสวรรค์ . มหาชนจึงรุมฆ่าพราหมณ์ปุโรหิตนั้นและเนรเทศพระเจ้าเอกราช แล้วกราบทูลเชิญจันทกุมารขึ้นครองราชย์.

๘ . นารทชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือการวางเฉย. มีเรื่องเล่าว่า พรหมนารทะช่วยเปลื้องพระเจ้าอังคติราชให้กลับจากความเห็นผิด มามีความเห็นชอบตามเดิม ( ความเห็นผิดนั้น เป็นไปในทางว่าสุขทุกข์เกิดเองไม่มีเหตุ คนเราเวียนว่ายตายเกิด หนักเข้าก็บริสุทธิ์ได้เอง ซึ่งเรียกว่าสังสารสุทธิ) .

๙ . วิฑูรชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญสัจจบารมี คือความสัตย์. มีเรื่องเล่าว่าถึงวิฑูรบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ถวายคำแนะนำประจำราชสำนัก พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเป็นผู้ที่พระราชา และประชาชนรักใคร่เคารพนับถือมาก ครั้งหนึ่งปุณณกยักษ์มาท้าพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะเล่นสกา ถ้าตนแพ้จักถวายมณีรัตนะอันวิเศษ ถ้าพระราชาแพ้ ก็จะพระราชทานทุกสิ่งที่ต้องการ เว้นแต่พระกายของพระองค์ ราชสมบัติ และพระมเหสี
ในที่สุดพระราชาแพ้ ปุณณกยักษ์จึงทูลขอตัววิฑูรบัณฑิต พระราชาจะไม่พระราชทานก็เกรงเสียสัตย์ พระองค์ตีราคาวิฑูรบัณฑิตยิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใด ๆ ทรงหน่วงเหนี่ยวด้วยประการต่าง ๆ แต่ก็ตกลงกันไปไต่ถามให้วิฑูรบัณฑิตตัดสิน วิฑูรบัณฑิตก็ตัดสินให้รักษาสัตย์ คือตนเองยอมไปกับยักษ์ ความจริงยักษ์ต้องการเพียงเพื่อจะนำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตไปแลกกับธิดาพญานาค ซึ่งความจริงเป็นอุบายของภริยาพญานาคผู้ใคร่จะได้สดับธรรมของวิฑูรบัณฑิต จึงตกลงกับสามีว่า ถ้าปุณณกยักษ์ต้องการธิดาของตน ก็ขอให้นำหัวใจของวิฑูรบัณฑิตมา.
แม้ยักษ์จะหาวิธีทำให้ตายก็ไม่ตาย วิฑูรบัณฑิตกลับแสดงสาธุนรธรรม ( ธรรมของคนดี) ให้ยักษ์เลื่อมใสและได้แสดงธรรมแก่พญานาค ในที่สุดก็ได้กลับสู่กรุงอินทปัตถ์ มีการฉลองรับขวัญกันเป็นการใหญ่.

๑๐ . เวสสันดรชาดก
ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญทานบารมี คือบริจากทาน. มีเรื่องเล่าถึงพระเวสสันดรผู้ใจดีบริจากทุกอย่างที่มีคนขอ ครั้งหนึ่งประทานช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองแก่พราหมณ์ชาวกาลิงคะ ซึ่งมาขอช้างไปเพื่อให้หายฝนแล้ง แต่ประชาชนโกรธขอให้เนรเทศ พระราชบิดาจึงจำพระทัยเนรเทศ ซึ่งพระนางมัทรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาได้ตามเสด็จไปด้วย
เมื่อชูชกไปขอสองกุมาร ก็ประทานอีก ภายหลังพระเจ้าสญชัยพระราชบิดาทรงไถ่สองกุมาร แล้วเสด็จไปรับกลับกรุง. ( เรื่องนี้แสดงการเสียสละส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ คือการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า อันจะเป็นทางให้ได้บำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวมได้ดียิ่ง มิใช่เสียสละโดยไม่มีจุดมุ่งหมายหรือเหตุผล).

พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่มทีฆนิกาย เล่ม ๑-๓พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓มัชฌิมนิกาย เล่ม ๔-๖พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖สังยุตตนิกาย เล่ม ๗-๑๑พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑อังคุตตรนิกาย เล่ม ๑๒-๑๖พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ขุททกนิกาย เล่ม ๑๗- ๒๕พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่มพระอภิธรรม เล่มที่ ๑พระอภิธรรม เล่มที่ ๒ พระอภิธรรม เล่มที่ ๓ พระอภิธรรม เล่มที่ ๔พระอภิธรรม เล่มที่ ๕ พระอภิธรรม เล่มที่ ๖ พระอภิธรรม เล่มที่ ๗ พระอภิธรรม เล่มที่ ๘ พระอภิธรรม เล่มที่ ๙ พระอภิธรรม เล่มที่ ๑๐ พระอภิธรรม เล่มที่ ๑๑ พระอภิธรรม เล่มที่ ๑๒
ความหมายพระไตรปิฎกความหมายพระวินัยปิฎก ความหมายพระสุตตันตปิฎกความหมายพระอภิธรรมปิฎก

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หลวงพ่อเงิน จันทสุวัณโณ วัดดอนยายหอม นครปฐม


หลวงพ่อเงิน จันทสุวัณโณ วัดดอนยายหอม นครปฐม

ข้อมูลประวัติ
เกิด วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ.2433 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 ปีขาล
อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
มรณภาพ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2520
รวมสิริอายุ 86 ปี 66 พรรษา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
เหรียญรุ่นแรกของท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2492 เนื่องในโอกาสฉลองอายุครบ 60 ปี เป็นเหรียญเสมา สร้างเฉพาะเนื้อทองแดงรมดำเพียงเนื้อเดียว และเป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงสุด สำหรับวัตถุมงคลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ มีหลายรุ่น เช่น รูปหล่อรุ่นแรก พระพุทธชินราช พิมพ์เข่าลอย พระรูปเหมือนขนาดบูชา รูปเหมือนปั๊ม ตลอดทั้งพระพิมพ์สิบทัศน์ ทั้งชนิดเหรียญหล่อ เหรียญปั๊ม พระเนื้อผง และเนื้อดิน

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
วัตถุมงคลท่านเด่นทางด้าน เมตตามหานิยม

รูปของ หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม
พระเนื้อผง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระสิบทัศน์ผงใบลาน
พระเนื้อผง หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระสิบทิศผงใบลาน
พระเหรียญ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเหรียญรุ่นแรกปี92
พระเหรียญ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเหรียญรุ่นแรกปี92
พระเหรียญ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเหรียญรุ่นแรกปี92
พระเหรียญ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเหรียญรุ่นแรกปี92
พระเหรียญ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเหรียญรุ่นแรกปี92
พระเหรียญ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเหรียญรุ่นสองปี2500
พระเหรียญ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมเหรียญรุ่นสองปี2500
พระเหรียญหล่อ เหรียญหล่อ พระพุทธชินราช(เข่าจม)หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
พระเหรียญหล่อ เหรียญหล่อ พระพุทธชินราช(เข่าลอย)หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
พระเหรียญหล่อ เหรียญหล่อ พระพุทธชินราช(เข่าลอย)หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
พระพุทธชินราช หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระพุทธชินราชพิมพ์เข่าลอย
พระพุทธชินราช หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระพุทธชินราชพิมพ์เข่าลอย
พระพุทธชินราช หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระพุทธชินราชพิมพ์เข่าลอย
พระพุทธชินราช หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระพุทธชินราชพิมพ์เข่าลอย
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระกริ่งพันตำลึงเนื้อเงิน
พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระรูปเหมือนหน้าตักสามนิ้ว
พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระรูปเหมือนหน้าตักสามนิ้ว
พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระรูปเหมือนหน้าตักสามนิ้ว
พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระสิบทัศน์ปั๊ม
พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมพระสิบทัศน์ปั๊ม
พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมรูปหล่อรุ่นแรกปี2500
พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมรูปหล่อรุ่นแรกปี2500

หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม







หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม
ข้อมูลประวัติ
เกิด ปี พ.ศ.2390
อุปสมบท ปี พ.ศ.2417 ขณะอายุ 27ปี
มรณภาพ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2477
สิริอายุ 87 ปี 60 พรรษา
หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ท่านเป็นคนพื้นเพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยกำเนิดสนใจวิชาอาคม และคาถาต่าง ๆ มาแต่รุ่นหนุ่ม เฉพาะอย่างยิ่งวิชาคงกระพันชาตรียากจะหาใครเสมอเหมือน
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสกเอาไว้มีหลายชนิด เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ และเหรียญ เหรียญเสมารุ่นแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ.2469 โดยหลวพ่ออั้นเป็นผู้ดำเนินงานสร้างปลุกเสกโดยหลวงพ่อกลั่น เพื่อแจกแก่ผู้สมทบทุนสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ มี 3 พิมพ์คือ พิมพ์นิยมขอเบ็ด พิมพ์หลังเสี้ยนตอง และพิมพ์หลังเรียบ ทุกพิมพ์เป็นเหรียญเนื้อทองแดง
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
หลวงพ่อกลั่น ท่านเด่นทางคงกระพันชาตรี

รูปของ หลวงพ่อกลั่นธมฺมโชโตวัดพระญาติการาม
พระเหรียญ หลวงพ่อกลั่นเหรียญรุ่นแรก
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงพ่อกลั่นตระกรุด
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงพ่อกลั่นตระกรุด
พระเหรียญ หลวงพ่อกลั่นเหรียญรุ่นแรก

หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ ชลบุรี








> หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ ชลบุรี

หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
ข้อมูลประวัติ
ประวัติของท่านไม่ปรากฏแน่ชัดนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมาว่าท่าน เกิดราวปลายรัชกาลที่ 2 ครอบครัวเป็นชาวประมง จังหวัดเพชรบุรี ท่านได้อุปสมบทที่วัดพระทรง และต่อมาในภายหลังได้ออกธุดงค์ ไปสักระยะหนึ่งท่านก็มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดเครือวัลย์ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งปัจจุบันพระปิดตาที่ท่านสร้างขึ้นเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย และท่านก็ถือได้ว่าเป็นสุดยอดพระเกจิชื่อดังองค์หนึ่ง
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างขึ้นและได้รับความนิยมในหมู่นักเลงพระได้แก่
- พระปิดตา พิมพ์ใหญ่หลังแบบ
- พระปิดตาพิมพ์ใหญ่หลังเรียบ
- พระปิดตาพิมพ์กลาง
- พระปิดตาพิมพ์เล็ก
- พระพิมพ์ลอยองค์
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณที่ได้เล่าขานกันสืบทอดกันมาเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่ท่านสร้าง ก็ได้แก่ ทางด้านเมตตามหานิยม

พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาเนื้อชินตะกั่ว
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาเนื้อชินตะกั่ว
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาเนื้อชินตะกั่ว
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาเนื้อชินตะกั่ว
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาพิมพ์ใหญ่หลังเรียบ
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาพิมพ์ใหญ่หลังแบบ
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาพิมพ์ใหญ่หลังแบบP2
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาพิมพ์ใหญ่หลังแบบ
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาพิมพ์ใหญ่หลังแบบ
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาพิมพ์ใหญ่หลังแบบ
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาพิมพ์ปั้นวัดากทะเลเนื้อผงคลุกรัก
พระปิดตา หลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์ปิดตาพิมพ์กลางหลังยันต์
พระเหรียญหล่อ เหรียญหล่อ หลวงพ่อแก้ว พิมพ์เศียรแหลม วัดพวงมาลัยปี2460

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระคาถาต่าง ๆ

พระคาถาต่าง ๆ

คาถาเสริมสร้างทางสวรรค์-นิพพาน ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมรํสี) หมั่นบริจาคทาน รักษาศีล ปฏิบัติภาวนา และระลึกถึง พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะโม พุทธายะ จะทำให้ท่านมีความสุข - อายุยืน - นิพพาน

พระคาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
นะโม ๓ จบ
เก โร นะ ทะ ตะ มัง นะ อะ อะ วะ หะ ยะ กิ ปิ มะ อะ อะ อุ กะ ปิ เส ปุ โร เส เม อะ วะ เข สิง สะ มุ อะ (๓๒) สวดบูชาสมเด็จ ฯ ประจำเช้า ๓ จบ เย็น ๓ จบปลอดภัยทั้งปวงและสำเร็จผลในสิ่งที่ปรารถนา
พระคาถาชินบัญชรถวายพุทธเจ้าหลวง
นะโม ๓ จบ
ชะ จะ ตะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ธะ ขะ อา ชิ วา อา วะ ชิ สะ อิ ตัง (๓๑) สวดบูชาพระองค์ครั้งละ ๓ จบจะเป็นมงคลและเสริมสร้างบารมียิ่ง (ของเก่า)
พระคาถาพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕)
พระสยามมินทร์โธ วะโรอิติ พุทธะสังมิ อิติอะระหัง สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโมพุทธายะ
พระคาถาอิติปิโส ๘ ทิศ สำเร็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ตั้งนะโม ๓ จบ
๑. อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา บทนี้ชื่อกระทู้ ๗ แบกประจำอยู่ทิศบูรพา(ทิศตะวันออก) คนเกิดวันจันทร์สวดวันละ ๑๕ จบ ๒. ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง บทนี้ชื่อว่าฝนแสนห่าประจำอยู่ทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)คนเกิดวันอังคารสวด ๘ จบ ๓. ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท บทนี้ชื่อนารายณ์เกลื่อนสมุทร ประจำอยู่ทิศทักษิณ(ทิศใต้) เกิดวันพุธกลางวันสวดวันละ๑๗ จบ ๔. โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ บทนี้ชื่อนารายณ์ถอดจักร์ ประจำอยู่ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) คนเกิดวันเสาร์สวดวันละ ๑๐ จบ ถอดถอนคุณไสยศาสตร์ ๕. ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ บทนี้ชื่อนารายณ์ขว้างจักร์ตรึงไตรภพ ประจำอยู่ทิศประจิม (ทิศตะวันตก) คนเกิดวันพฤหัสสวดวันละ ๑๙ จบ ทางเมตตามหานิยม ๖. คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ บทนี้ชื่อว่านารายณ์พลิกแผ่นดิน ประจำอยู่ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) คนเกิดวันพุธกลางคืนสวด ๑๒ จบ ใช้แก้ความผิดต่าง ๆ ๗. วา โธ โน อะ มะ มะ วา บทนี้ชื่อตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ ประจำอยู่ทิศอุดร (ทิศเหนือ) คนเกิดวันศุกร์ สวดวันละ ๒๑ จบทาง เมตตามหานิยม ๘. อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ บทนี้ชื่อนารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ทิศอีสาน (ทิศนะวันออกเฉียงเหนือ) คนเกิดวันอาทิตย์สวดวันละ ๖ จบ ทางเมตตามหานิยม สิทธิการิยะ พระอิติปิโส ๘ ทิศนี้มีอานุภาพมากหลาย ป้องกันได้สารพัดตามใจปรารถนา พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่า ฝอยท่วมหลังข้างแลมีอุปเท่ห์มากมายเหลือจะพรรณนา จะกล่าวไว้ย่อ ๆ พอเป็นบรรทัดฐานดังนี้ แม้จะยาตราไปทางสารทิศใด ให้ภาวนาพระคาถาประจำทิศตามทิศที่จะไปนั้น หรือทำน้ำมนต์ลูบหน้าปะพรมพาหนะที่จะไป จะปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง ไม่มีมารบกวนเลย ป้องกันได้สารพัด แม้ว่าทิศที่จะไปนั้นจะต้องผีหลวงหรือหลาวเหล็ก (ทิศที่ร้ายตามตำราโหราศาสตร์) ก็ดี คุ้มกันได้สิ้น ไปสงครามก็มีชัยชนะ ไปทำมาค้าขายก็กำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นประเจียดป้องกันศาตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่ฝูงชนทั้งปวง เขียนบูชาไว้กับบ้านเรือน ป้องกันภัยอันตรายได้ทุกอย่าง ถ้าจะไปนอนกลางป่าให้เสกก้อนดินไปวางไว้ตามทิศ เมื่อจะวางทิศไหนให้เสกด้วยคาถาประจำทิศนั้นอีกทิศละ ๘ จบ กันสารพัดสัตว์ร้าย เปรียบประดุจมีกำแพงแก้วคุ้มกันตนไว้ถึง ๗ ชั้น ถึงแม้จะถูกข้าศึกโจรผู้ร้ายล้อมไว้ก็ดี จะหักออกทางทิศไหน ให้ภาวนาคาถาประจำทิศนั้นเถิด แล้วให้หักออกมาจะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งสิ้น พระคาถาบทนี้มีอิทธิฤทธิ์มากมายสุดที่จะกล่าวได้
พระคาถาบูชาดวงชะตา (ของเก่า)


นะโม เม สัพพะเทวานังสุริยัญ จะ ปะมุญจะถะวุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ ชีโวโสโร ราหุเกตุ จะ มะหาลาภังสัพพะทุกขัง วินาสสันติลักขะณา อะหัง วันทามิ
สัพพะคะระหะ จะ เทวานังสะสิ ภุมโม จะ เทวานังสุกะโร จะ มะหาลาภังสัพพะภะยัง วินาสสันติสัพพะโรคัง วินาสสันติสัพพะทา สัพเพเทวา มัง


ปาละยันตุ สัพพะทา เอเตนะมังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม ฯ
เพื่อเสริมดวงชะตา จงผูกดวงชะตาของตน พร้อมเขียนชื่อนามสกุลของตนไว้ใต้ดวงชะตาหรือดวงที่เรียกว่า "ดวงพิชัยสงคราม" แล้วเอาดวงชะตาบรรจุหรือวางตั้งไว้ข้างฐานพระ เมื่อจะบูชาดวงชะตาพึงว่าคาถานี้ เพื่อจะได้เกิดลาภสักการะ เป็นสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลเลิศล้นดีนักแล ฯ



พระคาถาหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา คาถาเสริมทรัพย์ ตั้งนะโม ๓ จบ
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (ว่า ๑ จบ) วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะพุทธัสสะ สวาโหมะ
ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ ตื่นนอนเช้า ๓ จบ เวลาใส่บาตรจบขันข้าว ๑ จบ แล้วให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และพระปัจเจกโพธิ อย่าได้เว้น นอกนั้นว่างเมื่อไรท่องเมื่อนั้น จะบังเกิดโภคทรัพย์มากมาย


คาถามหาลาภ
นะมามีมา มะหาลาภา อิติ พุทธัสสะสุวัณณัง วา ระชะตัง วา มะณี วา ธะนัง วา พีชัง วา อัตถัง วา ปัตถัง วา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติ มีมา นะมามิหัง. ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ จะบังเกิดโภคทรัพย์อย่างมหัศจรรย์


คาถามหาพิทักษ์
จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง
ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่าง ฯ พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์


คาถามหาอำนาจ(หลวงพ่อปาน)
เอวัง ราชะสีโห มะหานาทัง สีหะนาทะกัง สีหะนะเม สีละเตเชนะ นามะ ราชะสีโห อิทธิฤทธิ พระพุทธังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง อิทธิฤทธิ พระธัมมังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง อิทธิฤทธิ พระสังฆังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง ใช้เสกน้ำล้างหน้าทุกเช้า จะมีอำนาจคนยำเกรงศัตรูพ่ายแพ้


คาถาอิทธิฤทธิ์(หลวงพ่อปาน)
พุทโธ พุทธัง นะ กันตัง อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ เป็นคาถาป้องกันตัวเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีศาสตราวุธร้ายแรงทุกชนิดทั้งมีดไม้ปืนหรือระเบิดให้ภาวนาดังนี้"อุทธัง อัทโธ นะโม พุทธายะ"
คาถาบูชาเงิน(ของเก่า)
อิติบูชา จะ มหาราชา สัพพะเสน่หาอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ มามา ยาตตรายามดีวันชัยมารศรี สวัสดีลาโภ นะโม พุทธายะ เป็นคาถาเก่าแก่ ผู้ใดสวดภาวนาเป็นประจำ จะทำให้การดำเนินชีวิตประสบความสุขความเจริญรุ่งเรือง เป็นพ่อค้าแม่ค้าพาณิชย์ทั้งน้อยใหญ่ จะบังเกิดโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูนดีนักแล ฯ
คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)
ปัญจะ มาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิ มุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิเอเตนะ สัจจะวัชเชนะโหตุ เม ชะยะมังคะลัง ป้องกันอันตรายทั้งปวง ฯ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
คาถากำแพงแก้วเจ็ดชั้น
พุทธัง สัตตะรัตนะมหาปาการัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สัตตะรัตนะมหาปาการัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สัตตะรัตนะมหาปาการัง สะระณัง คัจฉามิ สำหรับสวดภาวนา เสมือนมีกำแพงแก้วมหึมาคุ้มกันแม้อยู่ในถิ่นอันตราย ศัตรูและสัตว์ร้าย ไม่อาจทำอะไรได้ กลางคืนให้สวด ๗ จบ แล้วเอาจิต(นึกเห็น) วงรอบบ้านเริ่มจากขวาไปซ้ายเป็นทักษิณาวัฏป้องกันสรรพภัย วิเศษนักแล
คาถาป้องกันภัย
ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงการณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ. ใช้ภาวนาก่อนนอน หรือเมื่อเดินทางจะป้องกันภัยพิบัติทั้งปวงได้ชะงัดนักแล .



พระคาถาอาวุธพระพุทธเจ้า
อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะ สีละ เนกขัมมะปัญญา สะหะ วิริยะ ขันติ สัจจาทิฏฐานะ เมตตุ เปกขา ยุทธายะโว คัณหะถะ อาวุธานีติฯ ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ
คาถาพระแก้วมรกต
วาละลุกัง สังวาตังวา ( ๓ จบ ) ท่านจะสุขกายสบายใจ อธิษฐานสิ่งใดจะได้สมประสงค์.
คาถาพญายม
ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุติจิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติป้องกันภัยพิบัติทั้งปวง ฯ


คาถาหลวงปู่ศุข(วัดปากคลองมะขามเฒ่า)
สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ ขึ้นรถลงเรือ ขึ้นเครื่องบิน ท่องเสมอป้องกันภัยพิบัติ
พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ ฯ
ภาวนาทุกวันมิตกนรก เสกน้ำล้างหน้าทุกวันกันโรคภัยไข้เจ็บคุณไสยทั้งมวล ถ้าจะให้มีตบะเดชะให้ภาวนาทุกวัน เกิดสง่าราศีเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ให้ภาวนาแล้วแผ่เมตตาให้คนทั้งปวง ใครคิดร้ายก็ต้องมีอันเป็นไป ถ้าปรารถนาสิ่งใดให้ภาวนาคาถานี้ ๑๘ คาบ เป็นไปได้ ดังใจนึก ถ้าจะให้เป็นมหาจังงัง ให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบ เป็นมหาจังงังแล ถ้าจะให้เป็นมหาละลวยให้ภาวนา ๙ คาบ ถ้าช้างม้าวัวควายสัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกิน กลับใจอ่อนรักเราแล ถ้าภูตพรายมันเข้าอยู่คน เสกข้าวให้มันกินออกแล ถ้าปรารถนาจะให้เสียงเพราะ ให้เสกสีผึ้งสีปากเสกหมากกิน ไปเทศนาสวดร้องเป็นที่พอใจคนทั้งหลาย ให้เสกแป้งผัดหน้า เสกมงกุฎรัดเกล้า เป็นสง่าราศีใครเห็นใครรักทุกคน อนึ่งให้เอาใบลานหรือกระดาษว่าวมาลงคาถานี้ทำเป็นมงคลเสกด้วยตัวเอง สารพัดกันศาส ตราอาวุธทั้งหลายเป็นวิเศษนัก พระคาถาบทนี้ พระมหากษัตริย์ แต่เก่าก่อนทรงใช้ประจำทุกพระองค์แล
พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์
นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง สุอะนะอะ
พระอาจารย์เจ้าทั้งปวงให้เป็นทานแก่สมณชีพราหมณ์ กุลบุตรทั้งปวงพระคาถานี้ท่านเรียกว่า ธรรมราชา จัดเป็นใหญ่กว่าคาถาทั้งปวง ผู้ใดภาวนาได้อานิสงส์มากปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง เสกใส่ข้าวอาหารป้อนเด็ก ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดีฯ



คาถาค้าขายดี (ของเก่า)
พุทธัง พะหูชะนานัง เอหิ จิตตัง เอหิ มะนุสสานัง เอหิ ลาภัง เอหิ เมตตา ชมภูทีเป มนุสสานัง อิตถิโย ปุริโส จิตตัง พันธัง เอหิ.พ่อค้าแม่ค้าพาณิชย์นิยมเสกเป่า ๓ จบ ๗ จบทำน้ำมนต์ล้างหน้า และประพรมสินค้าขายของดีนักแล ฯ


พระคาถาพญาไก่เถื่อน สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระ(หลวงปู่สุก)วัดราชสิทธิธาราม (วัดพลับ) ธนบุรี


นะโม ๓ จบ
เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทาสาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ มหานิยม ป้องกันภัยทั้งปวง ฯ

พระเครื่อง ขลัง