วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระคาถาต่าง ๆ

พระคาถาต่าง ๆ

คาถาเสริมสร้างทางสวรรค์-นิพพาน ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรฺหมรํสี) หมั่นบริจาคทาน รักษาศีล ปฏิบัติภาวนา และระลึกถึง พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะโม พุทธายะ จะทำให้ท่านมีความสุข - อายุยืน - นิพพาน

พระคาถาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)
นะโม ๓ จบ
เก โร นะ ทะ ตะ มัง นะ อะ อะ วะ หะ ยะ กิ ปิ มะ อะ อะ อุ กะ ปิ เส ปุ โร เส เม อะ วะ เข สิง สะ มุ อะ (๓๒) สวดบูชาสมเด็จ ฯ ประจำเช้า ๓ จบ เย็น ๓ จบปลอดภัยทั้งปวงและสำเร็จผลในสิ่งที่ปรารถนา
พระคาถาชินบัญชรถวายพุทธเจ้าหลวง
นะโม ๓ จบ
ชะ จะ ตะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ธะ ขะ อา ชิ วา อา วะ ชิ สะ อิ ตัง (๓๑) สวดบูชาพระองค์ครั้งละ ๓ จบจะเป็นมงคลและเสริมสร้างบารมียิ่ง (ของเก่า)
พระคาถาพระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕)
พระสยามมินทร์โธ วะโรอิติ พุทธะสังมิ อิติอะระหัง สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโมพุทธายะ
พระคาถาอิติปิโส ๘ ทิศ สำเร็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ตั้งนะโม ๓ จบ
๑. อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา บทนี้ชื่อกระทู้ ๗ แบกประจำอยู่ทิศบูรพา(ทิศตะวันออก) คนเกิดวันจันทร์สวดวันละ ๑๕ จบ ๒. ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง บทนี้ชื่อว่าฝนแสนห่าประจำอยู่ทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)คนเกิดวันอังคารสวด ๘ จบ ๓. ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท บทนี้ชื่อนารายณ์เกลื่อนสมุทร ประจำอยู่ทิศทักษิณ(ทิศใต้) เกิดวันพุธกลางวันสวดวันละ๑๗ จบ ๔. โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ บทนี้ชื่อนารายณ์ถอดจักร์ ประจำอยู่ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) คนเกิดวันเสาร์สวดวันละ ๑๐ จบ ถอดถอนคุณไสยศาสตร์ ๕. ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ บทนี้ชื่อนารายณ์ขว้างจักร์ตรึงไตรภพ ประจำอยู่ทิศประจิม (ทิศตะวันตก) คนเกิดวันพฤหัสสวดวันละ ๑๙ จบ ทางเมตตามหานิยม ๖. คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ บทนี้ชื่อว่านารายณ์พลิกแผ่นดิน ประจำอยู่ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) คนเกิดวันพุธกลางคืนสวด ๑๒ จบ ใช้แก้ความผิดต่าง ๆ ๗. วา โธ โน อะ มะ มะ วา บทนี้ชื่อตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ ประจำอยู่ทิศอุดร (ทิศเหนือ) คนเกิดวันศุกร์ สวดวันละ ๒๑ จบทาง เมตตามหานิยม ๘. อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ บทนี้ชื่อนารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ทิศอีสาน (ทิศนะวันออกเฉียงเหนือ) คนเกิดวันอาทิตย์สวดวันละ ๖ จบ ทางเมตตามหานิยม สิทธิการิยะ พระอิติปิโส ๘ ทิศนี้มีอานุภาพมากหลาย ป้องกันได้สารพัดตามใจปรารถนา พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่า ฝอยท่วมหลังข้างแลมีอุปเท่ห์มากมายเหลือจะพรรณนา จะกล่าวไว้ย่อ ๆ พอเป็นบรรทัดฐานดังนี้ แม้จะยาตราไปทางสารทิศใด ให้ภาวนาพระคาถาประจำทิศตามทิศที่จะไปนั้น หรือทำน้ำมนต์ลูบหน้าปะพรมพาหนะที่จะไป จะปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง ไม่มีมารบกวนเลย ป้องกันได้สารพัด แม้ว่าทิศที่จะไปนั้นจะต้องผีหลวงหรือหลาวเหล็ก (ทิศที่ร้ายตามตำราโหราศาสตร์) ก็ดี คุ้มกันได้สิ้น ไปสงครามก็มีชัยชนะ ไปทำมาค้าขายก็กำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นประเจียดป้องกันศาตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่ฝูงชนทั้งปวง เขียนบูชาไว้กับบ้านเรือน ป้องกันภัยอันตรายได้ทุกอย่าง ถ้าจะไปนอนกลางป่าให้เสกก้อนดินไปวางไว้ตามทิศ เมื่อจะวางทิศไหนให้เสกด้วยคาถาประจำทิศนั้นอีกทิศละ ๘ จบ กันสารพัดสัตว์ร้าย เปรียบประดุจมีกำแพงแก้วคุ้มกันตนไว้ถึง ๗ ชั้น ถึงแม้จะถูกข้าศึกโจรผู้ร้ายล้อมไว้ก็ดี จะหักออกทางทิศไหน ให้ภาวนาคาถาประจำทิศนั้นเถิด แล้วให้หักออกมาจะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งสิ้น พระคาถาบทนี้มีอิทธิฤทธิ์มากมายสุดที่จะกล่าวได้
พระคาถาบูชาดวงชะตา (ของเก่า)


นะโม เม สัพพะเทวานังสุริยัญ จะ ปะมุญจะถะวุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ ชีโวโสโร ราหุเกตุ จะ มะหาลาภังสัพพะทุกขัง วินาสสันติลักขะณา อะหัง วันทามิ
สัพพะคะระหะ จะ เทวานังสะสิ ภุมโม จะ เทวานังสุกะโร จะ มะหาลาภังสัพพะภะยัง วินาสสันติสัพพะโรคัง วินาสสันติสัพพะทา สัพเพเทวา มัง


ปาละยันตุ สัพพะทา เอเตนะมังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม ฯ
เพื่อเสริมดวงชะตา จงผูกดวงชะตาของตน พร้อมเขียนชื่อนามสกุลของตนไว้ใต้ดวงชะตาหรือดวงที่เรียกว่า "ดวงพิชัยสงคราม" แล้วเอาดวงชะตาบรรจุหรือวางตั้งไว้ข้างฐานพระ เมื่อจะบูชาดวงชะตาพึงว่าคาถานี้ เพื่อจะได้เกิดลาภสักการะ เป็นสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลเลิศล้นดีนักแล ฯ



พระคาถาหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา คาถาเสริมทรัพย์ ตั้งนะโม ๓ จบ
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (ว่า ๑ จบ) วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะพุทธัสสะ สวาโหมะ
ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ ตื่นนอนเช้า ๓ จบ เวลาใส่บาตรจบขันข้าว ๑ จบ แล้วให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และพระปัจเจกโพธิ อย่าได้เว้น นอกนั้นว่างเมื่อไรท่องเมื่อนั้น จะบังเกิดโภคทรัพย์มากมาย


คาถามหาลาภ
นะมามีมา มะหาลาภา อิติ พุทธัสสะสุวัณณัง วา ระชะตัง วา มะณี วา ธะนัง วา พีชัง วา อัตถัง วา ปัตถัง วา เอหิ เอหิ อาคัจเฉยยะ อิติ มีมา นะมามิหัง. ใช้สวดภาวนาก่อนนอน ๓ จบ และตื่นนอนเช้า ๓ จบ เป็นการเรียกทรัพย์เรียกลาภ จะบังเกิดโภคทรัพย์อย่างมหัศจรรย์


คาถามหาพิทักษ์
จิตติ วิตัง นะกรึง คะรัง
ใช้ภาวนาขณะใส่กุญแจ ปิดหีบ ปิดตู้ ปิดประตูหน้าต่าง ฯ พระคาถา ๓ บทนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดนำไปใช้จะเกิดโชคลาภมั่งมีเงินทองอย่างมหัศจรรย์


คาถามหาอำนาจ(หลวงพ่อปาน)
เอวัง ราชะสีโห มะหานาทัง สีหะนาทะกัง สีหะนะเม สีละเตเชนะ นามะ ราชะสีโห อิทธิฤทธิ พระพุทธังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง อิทธิฤทธิ พระธัมมังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง อิทธิฤทธิ พระสังฆังรักษา สารพัดศัตรู อะปะราชะยัง ใช้เสกน้ำล้างหน้าทุกเช้า จะมีอำนาจคนยำเกรงศัตรูพ่ายแพ้


คาถาอิทธิฤทธิ์(หลวงพ่อปาน)
พุทโธ พุทธัง นะ กันตัง อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ เป็นคาถาป้องกันตัวเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูที่มีศาสตราวุธร้ายแรงทุกชนิดทั้งมีดไม้ปืนหรือระเบิดให้ภาวนาดังนี้"อุทธัง อัทโธ นะโม พุทธายะ"
คาถาบูชาเงิน(ของเก่า)
อิติบูชา จะ มหาราชา สัพพะเสน่หาอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ มามา ยาตตรายามดีวันชัยมารศรี สวัสดีลาโภ นะโม พุทธายะ เป็นคาถาเก่าแก่ ผู้ใดสวดภาวนาเป็นประจำ จะทำให้การดำเนินชีวิตประสบความสุขความเจริญรุ่งเรือง เป็นพ่อค้าแม่ค้าพาณิชย์ทั้งน้อยใหญ่ จะบังเกิดโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูนดีนักแล ฯ
คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)
ปัญจะ มาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิ มุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิเอเตนะ สัจจะวัชเชนะโหตุ เม ชะยะมังคะลัง ป้องกันอันตรายทั้งปวง ฯ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก
คาถากำแพงแก้วเจ็ดชั้น
พุทธัง สัตตะรัตนะมหาปาการัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สัตตะรัตนะมหาปาการัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สัตตะรัตนะมหาปาการัง สะระณัง คัจฉามิ สำหรับสวดภาวนา เสมือนมีกำแพงแก้วมหึมาคุ้มกันแม้อยู่ในถิ่นอันตราย ศัตรูและสัตว์ร้าย ไม่อาจทำอะไรได้ กลางคืนให้สวด ๗ จบ แล้วเอาจิต(นึกเห็น) วงรอบบ้านเริ่มจากขวาไปซ้ายเป็นทักษิณาวัฏป้องกันสรรพภัย วิเศษนักแล
คาถาป้องกันภัย
ฆะเฏสิ ฆะเฏสิ กิงการณา ฆะเฏสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ. ใช้ภาวนาก่อนนอน หรือเมื่อเดินทางจะป้องกันภัยพิบัติทั้งปวงได้ชะงัดนักแล .



พระคาถาอาวุธพระพุทธเจ้า
อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะ สีละ เนกขัมมะปัญญา สะหะ วิริยะ ขันติ สัจจาทิฏฐานะ เมตตุ เปกขา ยุทธายะโว คัณหะถะ อาวุธานีติฯ ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ
คาถาพระแก้วมรกต
วาละลุกัง สังวาตังวา ( ๓ จบ ) ท่านจะสุขกายสบายใจ อธิษฐานสิ่งใดจะได้สมประสงค์.
คาถาพญายม
ปะโตเมตัง ปะระชีวินัง สุขะโตจุติจิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโตจุติป้องกันภัยพิบัติทั้งปวง ฯ


คาถาหลวงปู่ศุข(วัดปากคลองมะขามเฒ่า)
สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ ขึ้นรถลงเรือ ขึ้นเครื่องบิน ท่องเสมอป้องกันภัยพิบัติ
พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ ฯ
ภาวนาทุกวันมิตกนรก เสกน้ำล้างหน้าทุกวันกันโรคภัยไข้เจ็บคุณไสยทั้งมวล ถ้าจะให้มีตบะเดชะให้ภาวนาทุกวัน เกิดสง่าราศีเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ให้ภาวนาแล้วแผ่เมตตาให้คนทั้งปวง ใครคิดร้ายก็ต้องมีอันเป็นไป ถ้าปรารถนาสิ่งใดให้ภาวนาคาถานี้ ๑๘ คาบ เป็นไปได้ ดังใจนึก ถ้าจะให้เป็นมหาจังงัง ให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบ เป็นมหาจังงังแล ถ้าจะให้เป็นมหาละลวยให้ภาวนา ๙ คาบ ถ้าช้างม้าวัวควายสัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกิน กลับใจอ่อนรักเราแล ถ้าภูตพรายมันเข้าอยู่คน เสกข้าวให้มันกินออกแล ถ้าปรารถนาจะให้เสียงเพราะ ให้เสกสีผึ้งสีปากเสกหมากกิน ไปเทศนาสวดร้องเป็นที่พอใจคนทั้งหลาย ให้เสกแป้งผัดหน้า เสกมงกุฎรัดเกล้า เป็นสง่าราศีใครเห็นใครรักทุกคน อนึ่งให้เอาใบลานหรือกระดาษว่าวมาลงคาถานี้ทำเป็นมงคลเสกด้วยตัวเอง สารพัดกันศาส ตราอาวุธทั้งหลายเป็นวิเศษนัก พระคาถาบทนี้ พระมหากษัตริย์ แต่เก่าก่อนทรงใช้ประจำทุกพระองค์แล
พระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์
นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง สุอะนะอะ
พระอาจารย์เจ้าทั้งปวงให้เป็นทานแก่สมณชีพราหมณ์ กุลบุตรทั้งปวงพระคาถานี้ท่านเรียกว่า ธรรมราชา จัดเป็นใหญ่กว่าคาถาทั้งปวง ผู้ใดภาวนาได้อานิสงส์มากปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง เสกใส่ข้าวอาหารป้อนเด็ก ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดีฯ



คาถาค้าขายดี (ของเก่า)
พุทธัง พะหูชะนานัง เอหิ จิตตัง เอหิ มะนุสสานัง เอหิ ลาภัง เอหิ เมตตา ชมภูทีเป มนุสสานัง อิตถิโย ปุริโส จิตตัง พันธัง เอหิ.พ่อค้าแม่ค้าพาณิชย์นิยมเสกเป่า ๓ จบ ๗ จบทำน้ำมนต์ล้างหน้า และประพรมสินค้าขายของดีนักแล ฯ


พระคาถาพญาไก่เถื่อน สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระ(หลวงปู่สุก)วัดราชสิทธิธาราม (วัดพลับ) ธนบุรี


นะโม ๓ จบ
เวทาสากุ กุสาทาเว ทายะสาตะ ตะสายะทาสาสาทิกุ กุทิสาสา กุตะกุภู ภูกุตะกุ มหานิยม ป้องกันภัยทั้งปวง ฯ

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


พระพุทธเจ้า



พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา" ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ

- เจ้าชายสิทธัตถะประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ(ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

- ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว มีดอกบัวผุดรองรับ ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"



2.วัยเด็ก

- หลังประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ จึงทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา

- ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น ค์อ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร

- พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอก จึงพยายามให้สิทธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา

- เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)
3.เสด็จออกผนวช


- เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณตามลำดับ จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงเกิดแนวความคิดว่า

-ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น , มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

-ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม เป็นเพียงภาพมายาที่ ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น ในความจริงแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน

-วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้ หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสาร จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ

- สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า "เทวทูต(ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช มีนายฉันทะตามเสด็จ โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเกศา และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันนะนำกลับพระนคร การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)

- หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่แปด) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้

- จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้

- ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ)
4.ตรัสรู้(15 ค่ำเดือน 6)

- ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ... “ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้

- ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)

- ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก

- ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4

- อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4

- เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


5.ปฐมเทศนา

- หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ได้พิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ทรงเห็นว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป

บัว ๔ เหล่า ได้แก่๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู) ๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู) ๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ) ๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)



- จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ (ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ) จึงเสด็จไปที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี ในวันขึ้น 15 เดือน 8 จึงทรงปฐมเทศนา " ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป)" ซึ่งใจความ 3 ตอน คือ
1.) ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แต่เดินทางสายกลางที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ มรรคมีองค์แปด เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
2.) ทรงแสดงอริยสัจ 4 โดยละเอียด
3.) ทรงปฏิญญาว่าทรงตรัสรู้พระองค์เอง และได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว

- โกญฑัญญะเป็นผู้ได้ธรรมจักษุก่อน เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งตามสภาพเป็นจริงว่า
"ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรม สิ่งนั้นทั้งหมดมีดับเป็นธรรมดา จึงได้อุปสมบทเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทาองค์แรก

- หลังจากปัญจวัคคีย์อุปสมบทแล้ว พุทธองค์จึงทรงเทศน์ อนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์จึงสำเร็จเป็นอรหันต์

เบี้ยแก้







เบี้ยแก้มีอิทธิฤทธิ์ทางด้านการป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ยาเสน่ห์ กันเขี้ยวงา หรือ แม้กระทั่งกันผี เบี้ยแก้ที่ดังๆ เป็นที่รู้จักกันมีอยู่ 2 สำนัก คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง และ เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ว่ากันว่าอาคมของหลวงปู่ทั้งสองนี้ เข้มขลังนัก ขนาดที่ว่าเสกเบี้ยให้คลานเหมือนหอยได้เลยทีเดียววิธีการสร้างเบี้ยแก้คือการนำปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปอยู่ในตัวเบี้ย แล้วหาวิธีอุดไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาได้ อย่างของอาคมประเภท ลูกอม หรือลูกสะกด ต่างๆ ที่ต้องนำปรอทมาหลอมกับทองแดง เงิน ทองคำนั้นเรียกว่าปรอทที่ตายแล้ว ส่วนปรอทที่นำมาทำเบี้ยแก้เรียกว่าปรอทเป็น โดยเมื่อเขย่าตัวเบี้ยแก้แล้วจะได้ยินเสียงดัง "ขลุกๆ" อยู่ในตัวเบี้ยถ้าทำเบี้ยในช่วงฤดูร้อน ปรอทจะมีการขยายตัวมาก ทำให้เวลาเขย่าในสภาวะอากาศร้อนก็จะไม่ค่อยได้ยินเสียง "ขลุก" แต่ถ้าในเบี้ยตัวเดียวกั มาเขย่าในช่วงอากาศหนาวปรอทจะหดตัวลงทำให้มีพื้นที่ในตัวเบี้ยเหลือทำให้เขย่าแล้ว ได้ยินเสียง "ขลุก" ได้ชัดเจนเมื่อกรอกปรอทเสร็จแล้วจะปิดช่องด้วยชันนะโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วและหุ้มด้วยผ้าแดงหรือแผ่นตะกั่วแผ่นทองแดงแล้วจึงนำมาถักเชือกหรือหุ้มทำห่วงไว้ให้ผูกเอวหรือห้อยคอ ขั้นตอนสุดท้ายคือการปลุกเสกกำกับอีกครั้งหนึ่งเสียงของเบี้ยแก้แต่ละตัวไม่เหมือนกันบางตัวก็ดังมาก บางตัวก็ดังน้อย บางตัวบรรจุปรอทน้อยเกินไปการกระฉอกของปรอทจะดังคล่องแคล่วดีแต่ก็ขาดความหนักแน่น บางตัวบรรจุปรอทมากไปก็อาจจะทำให้เสียงน้อยหรือไม่ได้ยินเลยก็มีสำหรับผู้ที่ชื่นชอบนะครับ คราวหน้าคราวหลังถ้าได้ไปเช่าหาเบี้ยแก้ก็อย่าลืม "เขย่า" ใกล้ๆ หู ฟังเสียงปรอทมันกระฉอกชอบเสียงแบบไหนก็เลือกตัวนั้นเลย เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับสำหรับเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงของสำนักอื่นๆ1. เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน อ่างทอง2. เบี้ยแก้หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ่างทอง3. เบี้ยแก้หลวงพ่อโปร่ง วัดท่าช้าง อ่างทอง4. เบี้ยแก้หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ อ่างทองสังเกตุดูว่าเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงนั้นมาจากจ.อ่างทองซะมาก เพราะเป็นวิชาที่สืบสานต่อกันมาครับ เหมือนเบี้ยแก้วัดกลางบางแก้ว นครปฐมก็สืบสานกันมา 4 รุ่นแล้วเช่นกัน ปัจจุบันอาจารย์เจือเป็นรุ่นที่ 4 ครับเค้าว่ากันว่าเบี้ยแก้เป็นวัตถุมงคลชั้นสูงที่เป็นเครื่องเตือนใจให้กลัวภัยที่เรามองไม่เห็นหากนำติดตัวไว้ย่อมปกป้องภัยอันตรายได้ทั้งปวงเป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มหาอุตม์ กันผีร้ายได้ทุกประการ วิธีการฟังเสียงปรอทในท้องเบี๊ย...บางท่านเขย่าเหมือนเขย่าขวดยา ซึ่งไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด ก็เก๊จะใช้น้ำมันใส่ตะกั่วกลม หรือวัสดุอย่างอื่นที่มีน้ำหนักแทน.. ฉนั้น เวลาจะฟังเสียงปรอทเดิน ควรจะหงายท้องเบี๊ยขึ้น เขย่าในลักษณะของการคลอนเบา ซ้าย-ขวา เพื่อฟังเสียงหรือสัมผัสถึงเวลาปรอทโยนตัว จะประมาณสองครั้ง... ท่านที่เคยเขย่าเต๋าน่าจะรู้ดี ของเก๊เลียนแบบมีมานานแล้ว ยุคแรกๆที่เก๊ดีออกมา ก็โดนกันระนาวเหมือนกัน ว่ากันว่ามีเก๊อยู่ฝีมือนึง ทำดีขนาดเซียนสะดุดขาตัวเอง... ซึ่งเซียนที่โดนยังไม่รู้ก็อวดอ้างว่าเบี๊ยตัวเองสวยงั้นสวยงี๊...พอมาถึงในวง คนเป็นมี คึนรู้จริงมี...ก็ลยเกิดการท้าทายกันว่า "ถ้าเบี๊ยตัวนี้ดีจริง ต้องผ่าดู"..."ถ้าดี..กูยอมจ่าย หมื่นนึง" (ราคาเบี๊ยยุคนั้น หมื่นนึงนี่ต้องโคตรแชมป์) ... "แต่ถ้าไม่ดี กูขอจิ้มพระองค์เดียว กูเลือกเอง" ว่าแล้วการพิสูจน์ก็เริ่มขึ้น เรียกคนกลางเป็นคนมาผ่า... ผ่าเชือกถักออกชั้นแรก..มองเห็นตะกั่วที่ตีหุ้ม เจ้าของเริ่มหน้าเสีย ครั้นพอเมื่อแกะตะกั่วหุ้มท้องเบี๊ยออก ตามสูตร น่าจะมีกระดาษหรือผ้าลงยันต์ปิดไว้อีกชั้นนึง...แล้วก็มีจริงๆ มีกระดาษพับไว้..ครานี้ เจ้าของแทบอยากจะยิงกบาลตัวเองเมื่อเห็นสีกระดาษ...หน้าเริ่มมืด..วิงเวียน.. แล้วกระดาษก็ถูกคลี่ออก ด้านในมีรอยจารด้วยดินสอไว้ว่า "ไอ้โง่!!" เบี้ยแก้ทางสายอ่างทอง เช่นของหลวงพ่อภักต์ หลวงพ่อโปร่ง เวลาเขย่าเพื่อฟังเสียงปรอทจะดังไม่เหมือนกับสายวัดกลางครับ คือเสียงจะดัง แซดๆ ไม่ดัง ขลุกๆ เนื่องจากเบี้ยสายอ่างทองจะนิยมใส่ตะกั่วตัดเป็นชิ้นเล็กๆใส่ไว้ในเบี้ยแก้ด้วยครับเบี้ยแก้สายวัดกลาง เวลาบรรจุปรอทจะบรรจุตัวละหนึ่งบาทตามตำราครับเพราะฉะนั้นน้ำหนักเบี้ยวัดกลางจะค่อนข้างใกล้เคียงกัน(น.น.เบี้ย ปรอท ตะกั่ว เชือก ห่วง น.น.รวมๆน่าจะไม่หนีกันมาก) ส่วนพวกตัวเล็กตัวน้อย ตัวใหญ่ยักษ์ ไม่ทราบว่าสมัยหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม จะมีหรือเปล่าไม่ทราบครับแล้วอีกเรื่องหนึ่งเรื่องการหุ้มตะกั่วที่ เห็นในปัจจุบันที่เห็นทำเป็นแม่พิมพ์ไม้ปั๊มตะกั่วบนล่างแล้วเอามาหุ้มเบี้ยก่อนถัก น่าจะเป็นยุคปลายๆหลวงปู่เพิ่ม หลวงพ่อใบ หลวงพ่อเจือนะครับ ถ้าเป็นยุคเก่าจะใช้วิธีค่อยตีไล่ตะกั่วให้หุ้มเบี้ยครับจะไม่ค่อยเรียบร้อยและจะเห็นรอยยับรอยจีบนะครับ จริงการที่จะดูเก๊แท้จะต้องดูหลายๆองค์ประกอบรวมกันนะครับ ทั้งเรื่องการถัก ขนาดเชือกถัก ความเก่าของรัก ความเก่าของตะกั่ว รอยจาร

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน



ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อเงินท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อเงินท่านเป็นชาวพิจิตร เกิดที่บ้านบางคลาน นับเป็น ประวัติพระคณาจารย์ ที่น่าศึกษา

ประวัติ หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก



ประวัติ หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก "หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน" หรือ "พระครูนิยุตธรรมสุนทร" วัดหนองจอก เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ประวัติหลวงพ่อยิด ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2476 หลวงพ่อยิด ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ศุข วัดโตนดหลวง

ประวัติ หลวงพ่อแสง ธัมมสโร วัดในเตา



ประวัติ หลวงพ่อแสง ธัมมสโร วัดในเตา ประวัติหลวงพ่อแสง ธัมมสโร วัดในเตา: "หลวงปู่แสง ธัมมสโร" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแดนใต้ หลวงพ่อแสง แห่ง วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ (วัดในเตา) อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีเมตตาธรรมสูง ถือสันโดษ มีพลังจิตที่เข้มขลังอาคมที่แก่กล้า นามของท่านจึงขจรขจายไปไกลทั่วภาคใต้

ประวัติ หลวงปู่เสาร์ ธัมมจาโร วัดบูรพาเกิ้งใต้



ประวัติ หลวงปู่เสาร์ ธัมมจาโร วัดบูรพาเกิ้งใต้ จ.มหาสารคาม ประวัติ หลวงปู่เสาร์ ธัมมจาโร วัดบูรพาเกิ้งใต้ " พระครูวุฒิธรรมาภิราม" หรือ "หลวงปู่เสาร์ ธัมมจาโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาเกิ้งใต้ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นพระเถระอีกรูปหนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย

ประวัติพ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ



ประวัติ พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ ประวัติพ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ หรือ พระครูอนุศาสน์กิจจาทร วัดอรัญวาสิการาม พระเกจิอาจารย์ดินแดน"ลังกาสุกะ" พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจชาวบ้านแถบนั้นมักเรียกท่านว่า ตาหลวง

พระรอด









พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน

ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่
1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด

ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง

สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์
1. พิมพ์ใหญ่
2. พิมพ์กลาง
3. พิมพ์เล็ก
4. พิมพ์ต้อ
5. พิมพ์ตื้น
ดังตัวอย่าง



พระรอด พิมพ์เล็ก วัดมหาวัน ลำพูนกรุเก่า เนื้อจัด พระใช้


พระรอดแขนติ่ง เนื้อผ่านดำเนื้อจัด พระใช้ เห็นตาและจมูกรางๆ

พุทธคุณ: ยอดเยี่ยมในทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม

พระรอด เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาองค์เล็กที่มีพุทธลักษณะงดงาม จึงได้รับความนิยม และจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีพระเครื่อง ซึ่งประกอบด้วย

พระสมเด็จ (พุทธจารย์โต พรหมรังษี)

พระรอด (ลำพูน)

พระซุ้มกอ (กำแพงเพชร)

พระนางพญา (พิษณุโลก)

พระผงสุพรรณ (สุพรรณบุรี)


ซึ่งในบรรดาพระเครื่องในชุดเบญจภาคี พระรอด ถือว่าเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด คือ ประมาณ ๑,๓๐๐ กว่าปีพระรอดสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระนางจามเทวี และบรรจุไว้ ณ วัดมหาวัน




วัดมหาวัน จ.ลำพูน

วัดมหาวัน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ และได้อัญเชิญ พระพุทธรูปนาคปรก หรือ พระดิลกดำ จากเมืองละโว้ มาไว้ที่วัดนี้ ชาวเมืองเรียกกันว่า พระรอดหลวง หรือ พระรอดลำพูน ซึ่งต่อมาได้เป็น แบบพิมพ์จำลอง พระเครื่อง ที่ลือชื่อกรุหนึ่ง ชื่อ พระรอดมหาวัน
ซึ่งพระอารามนี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกห่างจากประตู มหาวัน อันเป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตก ประมาณ ๕๐ เมตร หน้าพระอารามหันไปทางทิศตะวันออก ตรงกันข้ามกับคูเมือง ที่ตั้งวัดนี้เดิมเป็นมหาวนาราม พระอารามหลวง ซึ่งพระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ

ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ได้มีการปฏิสังขรณ ์องค์เจดีย์ในวัดมหาวันขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘ ซึ่งแต่เดิมองค์เจดีย์ยอดปรักหักพังลงไป พระรอดซึ่งถูกบรรจุไว้ได้กระจัดกระจายไปพร้อมกับยอดเจดีย์ซึ่งหักพังลงไปทางทิศตะวันตก เพราะได้มีผู้ขุดพบยอดพระเจดีย์ซึ่งเป็นศิลาแลงทางทิศนั้น อนึ่งปรากฏว่า มีผู้ค้นพบพระรอดได้เป็นจำนวนมากมายทางทิศนี้ด้วย ซึ่งมีมากกว่าทิศอื่นๆ จนกระทั่งสถานที่ขุดได้กลายเป็นบ่อน้ำ (บ่อน้ำปัจจุบัน) ในการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ในครั้งนี้ได้พบพระรอดจำนวนมากในซากกรุเจดีย์วัดมหาวัน พระรอดส่วนหนึ่ง ได้รับการบรรจุเข้าไปไว้ในพระเจดีย์ใหม่ และบางส่วนได้มีผู้นำไปสักการบูชา แต่ยังมีอีกบางส่วนที่ปะปนกับเศษซากกรุเก่า กระจายไปทั่วบริเวณวัด

ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ ทรงได้พิจารณาเห็นว่ามีต้นโพธิ์ แทรกตรงบริเวณฐานเจดีย์มหาวันและมีรากลึกลงไปภายในองค์พระเจดีย์ทำให้มีรอยร้าวชำรุดหลายแห่ง จึงได้ทำการฏิสังขรณ์ฐานรอบนอกองค์พระเจดีย์ใหม่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในการนี้ ได้พบพระรอดจำนวนมาก ประมาณหนึ่งกระเช้าบาตร (ตระกร้าบรรจุกับข้าวตักบาตร) และได้นำมาแจกจ่ายบรรดาญาติซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้

ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์ บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆสร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว

ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕ ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด และว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา เสร็จแล้ว

สุกกทันตฤษี วาสุเทพฤษี ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่ สีเขียว สีเขียวอ่อน สีขาวปนเหลือง สีดำ สีแดงสีดอกพิกุล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๓๖ นิ้ว นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบัน ประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวีนำขึ้นมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ถือว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์องค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหริภุญไชย ลำพูนมาตราบเท่าทุกวันนี้

พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

ประวัติสมเด็จโต



หนังสือสมเด็จโต ของตรียัมปวาย ปัจจุบันหายากมาก ผมได้จากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เมื่อ 2 ปีก่อน ด้วยความเคารพนับถือต่อท่านเจ้าพระคุณสมเด็จท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงอยากเผยแพร่ประวัติ และเกียรติคุณของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ โดยย่อความจากหนังสือดังกล่าว ออกมา ดังนี้
ประวัติ สมเด็จโต
ภูมิสมภพ
เกิดในแผ่นดีน สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับจากคำบอกเล่าของ นายกลิ่น ญาตฺนายโทน หลาน ของสมเด็จโต ท่านเกิดวันพฤหัส เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำ เวลาพระบิณฑบาต ย่ำรุ่ง 9บาท จุลศักราช 1150 ปีวอก ตรงกับ วันที่ 17เมษายน 2331 หลังตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 7 ปี
เจ้าพระยาทิพยโกษา ได้อธิบายว่า ดวงชะตาสมเด็จนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรางคำนวณถวายรัชกาลที่ 5 แล้วพระราชทานไปยังสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ซึ่งประทานให้พระยาทิพยโกษา คัดลอกไว้ ดังนี้ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต พรมรังสี เป็นผู้ทรงกิตติคุณ มหานิยมยิ่ง เป็นผู้มีพื้นเพดีเป็นที่รักของมุขมนตรี และท้าวพระยามหากษัตริย์ เป็นผู้มีอุตสาหะอันแรงกล้า มักน้อยสันโดษ มีศิษยานุศิษย์มาก และมีศิษย์ที่ทรางกิตติคุณสูง ทรงคุณปัญญายอดเยี่ยมแตกฉานในพระปริยัติธรรม เชี่ยวชาญในอักษรสมัย ช่ำชองในพระกรรมฐาน และเป็นเกจิอาจารย์ชั้นเยี่ยม ปราศจากการสะสมทรัพย์ใดๆ และเป็นผู้มีอายุยืน และเป็นผู้เชี่ยวชาญในพุทธาคม และศาสตร์อันลี้ลับ

นาม
โต ในวัยเด็กท่านมีร่างกายบอบบาง ไม่แข็งแรง จึงตั้งชื่อว่า โต เพื่อเป็นศิริมงคล

โยมมารดา
ชื่อเกตุ โยมตาชือ ไชยเป็นชาวท่าอิฐ อ.ท่าโพธิ์ (ปัจจุบันเป็นอ.เมือง) จงอุตรดิษถ์ ต่อมาฝนแล้งจึงย้ายมาที่ ต.สระเกศ อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นที่ที่โยมบิดาพบกับโยมมารดา จากนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่ อ.ท่าเรือ จงพระนครศรีอยุธยา

โยมบิดา
เป็นที่ทราบกันว่า คือ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แต่เกิดนอกราชฐาน แต่ได้รับการนับถือจากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร โดยเฉพาะ สมเด็จพระจอมเกล้า ทรงเรียกว่า หลวงพี่ ทุกคำ

การศึกษา
เบื้องต้น เรียนหนังสือไทยและขอม ที่วัดไชโย อ่างทอง ต่อมามารดา นำท่านมาศึกษาต่อที่สำนัก พระอรัญญิก (แก้ว) วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก) พระนคร ท่านเป็นพระกรรมฐาน ชาวเวียงจันทร์ ได้เข้ามาตามการอารธนาของ เจ้าอินทร์ น้าชาย เจ้าเขียวน้อย พระชายา ในพระพุทธยอดฟ้า ราชตระกูลเวียงจันทร์ ผู้ปฏิสังขรวัดอินทรวิหาร

การบรรพชา
เมื่ออายุ 12 ปี พ.ศ.2343 โดย พระบวรวิริยเถระ อยู่ วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพูบน )
สามเณรน้อยนี้ได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ครั้งดำรงพระยศเป็น กรมขุนอิศรสุนทร มาก ทรงรับอุปถัมภ์ ถึงกับทรงประทาน เรือกราบกันยาหลังคากระแซง ไว้ใช้สอย ซึ่งเป็นเรือที่สำหรับพระราชวงศืชั้นพระองค์เจ้าเท่านั้น เป็นการแสดงออกว่า ทรงยอมรับว่าเจ้าพระคุณเป็นโอรส โดยพฤตินัย
การศึกษาพระบาลีปริยัติธรรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นาค เปรียญเอก เจ้าอาวาสวัดระหัง วันหนึ่งทรงฝันไปว่า มีช้างเผือกเข้ามากินหนังสือพระไตรปิฎก ในตู้ของท่านจนหมด ชะรอยจะมีเด็กมีปัญญามาฝากเป็นศิษย์ จึงทรงสั่งว่าถ้ามีใครมาฝากเด็ก ให้รอคอยพบท่านให้จงได้ แล้วพระอรัญญิก แก้ว ก็พาสามเณรโต จากวัดอินทรวิหาร มาฝากจริงๆ จึงทรงรับไว้ทันที
การอุปสมบท ปีพ.ศ. ๒๓๕0 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ทรงรับเป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมี องค์สมเด็จพระสังฆราช ศุข วัดมหาธาตุ พระสังฆราชองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จโต ทรงศึกษาต่อกับ สมเด็จพระสังฆราช ศุข ด้วย วันหนึ่ง ทรงรับสั่งว่า ขรัวโตศิษย์เธอเขามาแปลหนังสือให้ฉันฟังน่ะ ไม่ได้มาเรียนหนังสือ ดอก หลัง สมเด็จโตเข้าโบสถ์ไปแปลบาลีให้พระประธานฟังเสร็จแล้วกราบ 3 ครั้งแล้วเทินหนังสือบนศรีษะกลับไป
การศึกษาพระกรรมฐาน
ทรงศึกษาจากพระอาจารย์พระอรัญญิกแก้ว และพระบวรวิริยเถระอยู่ วัดสังเวชวิศยาราม ตั้งแต่เป็นสามเณร จากนั้นทรงเรียนวิชากรรมฐานและพุทธาคมจาก สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถ่อน สมัยที่ดำรงพระสมณศักดิ์ที่ พระณาณสังวร ครองวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ทรงเล่าเรียน พร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมือครั้งทรงผนวชอยู่ ทรงเรียนอักขรเลขยันต์ การทำผงวิเศษ 5 ประการจากพระสังฆราช ดังนั้นพระสมเด็จของท่านจึงคล้ายกับสมเด็จอรหังของพระสังฆราชสุก มาก โดยสมเด็จอรหังสร้างก่อนสมเด็จวัดระฆัง 44-46 ปี ( สมเด็จอรหังสร้างประมาณ พ.ศ.2363-2365 สมเด็จโตสร้างประมาณ พ.ศ. 2409 )

การสร้างพระให้ศักดิ์สิทธิ์ นั้น ต้องอาศัยการลงอักขรเลขยันต์การเรียกสูตร จากวิชามยฤทธิ์ และการนั่งปรก จากวิชาสมาธิปผารฤทธิ์ ท่านสร้างเต้าปูนนำไปแจกพระในวัดตั้งแต่เป็นเณร มีพระภิกษุนำไปปั้นเป็นลูกกลมๆ มีคนนำไปใช้ กลายเป็น ลูกอมศักดิ์สิทธิ์ ไป
จากนั้นทรงศึกษาต่อกับ พระอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี ร.5ทรงบันทึกไว้ว่า พระองค์นี้เดินจากลพบุรีตอนเช้า มาฉันเพลที่กรุงเทพได้

เปรียญยก
สมัยก่อนการสอบเปรียญของพระภิกษุต้องทำการแปลบาลีต่อหน้าพระพักต์ของพระเจ้าอยู่หัวและกรรมการสอบ เมื่อแปลได้กี่ประโยคก็จะได้เปรียญตามนั้น บององค์อาจแปลได้รวดเดียว 9 ประโยคก็มี แต่เจ้าพระคุณสมเด็จโต ก็มีการเข้าแปลทุกปี แต่เมือแปลไปเรื่อยๆ ใกล้จะจบได้ประโยคก็มักจะหยุดกลางคันกลับวัดไปเฉย ๆ โดยไม่มีใครว่ากระไรเลย แสดงว่าท่านไม่ต้องการยศศักดิ์แต่อย่างใด

สมณศักดิ์
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงดำริจะพระราชทานแต่งตั้ง สมเด็จโตเป็นพระราชาคณะ แต่ขรัวโตก็ถวายพระพรขอตัวเสีย บางครั้งก็หนีไปอยู่ถึงกัมพูชาเลยก็มี แต่ก็ไม่สามารถหนีได้ในสมัยรัชกาลที่4 เพราะทรงนับถือเกรงใจและสนิทสนมกันมาก
ในปี พ.ศ. 2395 จึงทรงตั้งเป็นที่ พระธรรมกิตติ วัดระฆัง โดยสมเด็จพระจอมเกล้าทรงถามว่าคราวนี้ทำไมไม่หนี สมเด็จโตทรงตอบว่า สมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงมิได้เป็น เจ้าฟ้า แต่ทรงเป็นจ้าแผ่นดิน แต่พระจอมเกล้าทรงเป็นทั้งเจ้าฟ้า และเจ้าแผ่นดิน โวหารแยบคายนัก เพราะสมเด็จพระนั่งเกล้าทรงเป็นพระองค์เจ้าเท่านั้น ไม่ใช่พระยศชั้นเจ้าฟ้า ต่อมาอีก 2 ปี พ.ศ. 2397 เป็นที่ พระเทพกวี ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์สน วัดสะเกศ มรณภาพ จึงทรงตั้งเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ วันที่ 8 กันยายน 2407 เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ 5 ของกรุงรัตนโกสินทร์

รายนามสมเด็จพระพุฒาจารย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนี้
1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ไม่ทราบนาม) วัดอมรินทร์ (วัดบางหว้าน้อย) ได้รับทัณฑืโบยถอด พร้อมพระสังฆราช ศรีวัดระฆัง และ พระพิมลธรรม วัดโพธาราม ด้วยถวายวิสัชชนไม่สบพระทัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมือรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ ทรงถวายพระยศคืนทั้ง 3 องค์
2. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อยู่) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)
3. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป้า) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)
4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศ (วัดสะแก)
5. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง (วัดบางหว้าใหญ่)
อนึ่ง แต่เดิมใช้คำ สมเด็จพระพุทธาจารย์ แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในรัชกาลที่ 4

ศิษย์เอกเจ้าพระคุณสมเด็จ
1. หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ป.7 วัดระฆัง
2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มรว.เจริญ วัดระฆัง
3. พระธรรมถาวร ช่วง จันทโชติ
4. พระครูธรรมานุกุล ภู จันทสโร หรือ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร

พระพิฆเนศ

กำเนิดพระพิฆเนศวร พระพิฆนเศวรเป็นเทพที่มีผู้คนนับถือและเคารพมากที่สุดเนื่องจากเป็นเทพที่มีพระกรุณาเป็นหนึ่งในเทพทั้งหมดและถือกันว่าเป็นปฐมเทพที่จะได้รับการบูชาก่อนเริ่มพิธีกรรมต่างๆเนื่องจากได้รับพรจากศิวเทพเพราะความเฉลียวฉลาด และเป็นเทพที่มีสติปัญญาล้ำเลิศ พระพิฆเนศวรเป็นเทพที่มีพระวรกายแตกต่างจากเทพอื่นๆทั้งหมดตามที่เราเห็นว่ามีพระวรกายเป็นมนุษย์แต่มีพระพักตร์เป็นคชสาร
***********************************************************************
ประวัติพระพิฆเนศวร ในคราวที่พระศิวะเทพทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระแม่ปารวตีเนื่องจากอยู่องค์เดียวเลยเกิดความเหงา และ ประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอกที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนัก
ในจึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่องค์ศิวเทพเสด็จออกไปตามพระกิจต่างๆมีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงในพระตำหนักด้านในนั้นองค์ศิวเทพได้กลับมาและเมื่อจะเข้าไปด้านในก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกันศิวเทพก็ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นพระโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา เมื่อพระองค์ถูกขัดใจก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้พลางถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตามบัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจและศีรษะก็ถูกตัดหายไป
ในขณะนั้นเองพระแม่ปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็เสด็จออกมาด้านนอกและถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อได้สติก็ทรงมีความโศกาอาดูรและตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง
เมื่อได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้นองค์มหาเทพก็ทรงตรัสว่าจะทำให้เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่แต่ก็เกิดปัญหา เนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่งกระวนกระวายใจเนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้นแล้วก็จะไม่ ่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้เมื่อเห็น
เช่นนั้นพระศิวะเลยบัญชาให้เทพที่มาช่วยให้เอาศีรษะสิ่งที่มีชีวิตแรกที่พบมาและปรากฎว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมาซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อให้และชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่อง ให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า พระพิฆเนศวร ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรคและยังทรงให้พรว่าในการประกอบพิธีการต่างๆทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศวรก่อนเพื่อความสำเร็จของพิธีนั้น
***********************************************************************
ความสำคัญแต่ละส่วนของพระวรกาย
เนื่องจากพระพิฆเนศวรมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่นๆนั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพะองค์ท่านดังนี้
1. พระเศียรของท่านหมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต2. พระวรกายแสดงถึงการที่เป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี3. ศีรษะช้างแสดงถึงความเฉลียวฉลาด4. เสียงดังที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า โอม ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล5. หระหัตถ์บนด้านขวาทรงเชือกบ่วงบาศน์ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง6. พระหัตถ์บนซ้ายทรงเชือกขอสับที่ใช้ในการป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก7. มือขวาล่างทรงงาที่หักครึ่งซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์มหาภารตะให้มหาฤษีเวทวยาสมุนีและเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเสียสละ8. อีกมือทรงลูกประคำที่แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา9.ขนมโมณฑกะหรือขนมหวานลัดดูในงวงเป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความหวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเองเพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเพื้อเผื่อแผ่ให้กับคนอื่นๆ10. หูที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัดหมายความว่าท่านพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา11. งูที่พันอยู่รอบท้องท่านแสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ12. หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะแสดงถึงความไม่ถือองค์และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก

พระเครื่อง ขลัง