วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เบี้ยแก้







เบี้ยแก้มีอิทธิฤทธิ์ทางด้านการป้องกันคุณไสย มนต์ดำ ยาเสน่ห์ กันเขี้ยวงา หรือ แม้กระทั่งกันผี เบี้ยแก้ที่ดังๆ เป็นที่รู้จักกันมีอยู่ 2 สำนัก คือ เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง และ เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ว่ากันว่าอาคมของหลวงปู่ทั้งสองนี้ เข้มขลังนัก ขนาดที่ว่าเสกเบี้ยให้คลานเหมือนหอยได้เลยทีเดียววิธีการสร้างเบี้ยแก้คือการนำปรอทที่ปลุกเสกแล้วเข้าไปอยู่ในตัวเบี้ย แล้วหาวิธีอุดไว้ไม่ให้ปรอทหนีออกมาได้ อย่างของอาคมประเภท ลูกอม หรือลูกสะกด ต่างๆ ที่ต้องนำปรอทมาหลอมกับทองแดง เงิน ทองคำนั้นเรียกว่าปรอทที่ตายแล้ว ส่วนปรอทที่นำมาทำเบี้ยแก้เรียกว่าปรอทเป็น โดยเมื่อเขย่าตัวเบี้ยแก้แล้วจะได้ยินเสียงดัง "ขลุกๆ" อยู่ในตัวเบี้ยถ้าทำเบี้ยในช่วงฤดูร้อน ปรอทจะมีการขยายตัวมาก ทำให้เวลาเขย่าในสภาวะอากาศร้อนก็จะไม่ค่อยได้ยินเสียง "ขลุก" แต่ถ้าในเบี้ยตัวเดียวกั มาเขย่าในช่วงอากาศหนาวปรอทจะหดตัวลงทำให้มีพื้นที่ในตัวเบี้ยเหลือทำให้เขย่าแล้ว ได้ยินเสียง "ขลุก" ได้ชัดเจนเมื่อกรอกปรอทเสร็จแล้วจะปิดช่องด้วยชันนะโรงใต้ดินที่ปลุกเสกแล้วและหุ้มด้วยผ้าแดงหรือแผ่นตะกั่วแผ่นทองแดงแล้วจึงนำมาถักเชือกหรือหุ้มทำห่วงไว้ให้ผูกเอวหรือห้อยคอ ขั้นตอนสุดท้ายคือการปลุกเสกกำกับอีกครั้งหนึ่งเสียงของเบี้ยแก้แต่ละตัวไม่เหมือนกันบางตัวก็ดังมาก บางตัวก็ดังน้อย บางตัวบรรจุปรอทน้อยเกินไปการกระฉอกของปรอทจะดังคล่องแคล่วดีแต่ก็ขาดความหนักแน่น บางตัวบรรจุปรอทมากไปก็อาจจะทำให้เสียงน้อยหรือไม่ได้ยินเลยก็มีสำหรับผู้ที่ชื่นชอบนะครับ คราวหน้าคราวหลังถ้าได้ไปเช่าหาเบี้ยแก้ก็อย่าลืม "เขย่า" ใกล้ๆ หู ฟังเสียงปรอทมันกระฉอกชอบเสียงแบบไหนก็เลือกตัวนั้นเลย เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับสำหรับเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงของสำนักอื่นๆ1. เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน อ่างทอง2. เบี้ยแก้หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ อ่างทอง3. เบี้ยแก้หลวงพ่อโปร่ง วัดท่าช้าง อ่างทอง4. เบี้ยแก้หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ อ่างทองสังเกตุดูว่าเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงนั้นมาจากจ.อ่างทองซะมาก เพราะเป็นวิชาที่สืบสานต่อกันมาครับ เหมือนเบี้ยแก้วัดกลางบางแก้ว นครปฐมก็สืบสานกันมา 4 รุ่นแล้วเช่นกัน ปัจจุบันอาจารย์เจือเป็นรุ่นที่ 4 ครับเค้าว่ากันว่าเบี้ยแก้เป็นวัตถุมงคลชั้นสูงที่เป็นเครื่องเตือนใจให้กลัวภัยที่เรามองไม่เห็นหากนำติดตัวไว้ย่อมปกป้องภัยอันตรายได้ทั้งปวงเป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาด มหาอุตม์ กันผีร้ายได้ทุกประการ วิธีการฟังเสียงปรอทในท้องเบี๊ย...บางท่านเขย่าเหมือนเขย่าขวดยา ซึ่งไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด ก็เก๊จะใช้น้ำมันใส่ตะกั่วกลม หรือวัสดุอย่างอื่นที่มีน้ำหนักแทน.. ฉนั้น เวลาจะฟังเสียงปรอทเดิน ควรจะหงายท้องเบี๊ยขึ้น เขย่าในลักษณะของการคลอนเบา ซ้าย-ขวา เพื่อฟังเสียงหรือสัมผัสถึงเวลาปรอทโยนตัว จะประมาณสองครั้ง... ท่านที่เคยเขย่าเต๋าน่าจะรู้ดี ของเก๊เลียนแบบมีมานานแล้ว ยุคแรกๆที่เก๊ดีออกมา ก็โดนกันระนาวเหมือนกัน ว่ากันว่ามีเก๊อยู่ฝีมือนึง ทำดีขนาดเซียนสะดุดขาตัวเอง... ซึ่งเซียนที่โดนยังไม่รู้ก็อวดอ้างว่าเบี๊ยตัวเองสวยงั้นสวยงี๊...พอมาถึงในวง คนเป็นมี คึนรู้จริงมี...ก็ลยเกิดการท้าทายกันว่า "ถ้าเบี๊ยตัวนี้ดีจริง ต้องผ่าดู"..."ถ้าดี..กูยอมจ่าย หมื่นนึง" (ราคาเบี๊ยยุคนั้น หมื่นนึงนี่ต้องโคตรแชมป์) ... "แต่ถ้าไม่ดี กูขอจิ้มพระองค์เดียว กูเลือกเอง" ว่าแล้วการพิสูจน์ก็เริ่มขึ้น เรียกคนกลางเป็นคนมาผ่า... ผ่าเชือกถักออกชั้นแรก..มองเห็นตะกั่วที่ตีหุ้ม เจ้าของเริ่มหน้าเสีย ครั้นพอเมื่อแกะตะกั่วหุ้มท้องเบี๊ยออก ตามสูตร น่าจะมีกระดาษหรือผ้าลงยันต์ปิดไว้อีกชั้นนึง...แล้วก็มีจริงๆ มีกระดาษพับไว้..ครานี้ เจ้าของแทบอยากจะยิงกบาลตัวเองเมื่อเห็นสีกระดาษ...หน้าเริ่มมืด..วิงเวียน.. แล้วกระดาษก็ถูกคลี่ออก ด้านในมีรอยจารด้วยดินสอไว้ว่า "ไอ้โง่!!" เบี้ยแก้ทางสายอ่างทอง เช่นของหลวงพ่อภักต์ หลวงพ่อโปร่ง เวลาเขย่าเพื่อฟังเสียงปรอทจะดังไม่เหมือนกับสายวัดกลางครับ คือเสียงจะดัง แซดๆ ไม่ดัง ขลุกๆ เนื่องจากเบี้ยสายอ่างทองจะนิยมใส่ตะกั่วตัดเป็นชิ้นเล็กๆใส่ไว้ในเบี้ยแก้ด้วยครับเบี้ยแก้สายวัดกลาง เวลาบรรจุปรอทจะบรรจุตัวละหนึ่งบาทตามตำราครับเพราะฉะนั้นน้ำหนักเบี้ยวัดกลางจะค่อนข้างใกล้เคียงกัน(น.น.เบี้ย ปรอท ตะกั่ว เชือก ห่วง น.น.รวมๆน่าจะไม่หนีกันมาก) ส่วนพวกตัวเล็กตัวน้อย ตัวใหญ่ยักษ์ ไม่ทราบว่าสมัยหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม จะมีหรือเปล่าไม่ทราบครับแล้วอีกเรื่องหนึ่งเรื่องการหุ้มตะกั่วที่ เห็นในปัจจุบันที่เห็นทำเป็นแม่พิมพ์ไม้ปั๊มตะกั่วบนล่างแล้วเอามาหุ้มเบี้ยก่อนถัก น่าจะเป็นยุคปลายๆหลวงปู่เพิ่ม หลวงพ่อใบ หลวงพ่อเจือนะครับ ถ้าเป็นยุคเก่าจะใช้วิธีค่อยตีไล่ตะกั่วให้หุ้มเบี้ยครับจะไม่ค่อยเรียบร้อยและจะเห็นรอยยับรอยจีบนะครับ จริงการที่จะดูเก๊แท้จะต้องดูหลายๆองค์ประกอบรวมกันนะครับ ทั้งเรื่องการถัก ขนาดเชือกถัก ความเก่าของรัก ความเก่าของตะกั่ว รอยจาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พระเครื่อง ขลัง